บรรณานุกรม


ความหมายของบรรณานุกรม บรรณานุกรม คือ รายการสื่อสารนิเทศที่ใช้ค้นคว้าหาข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการ เพื่อเรียบเรียงเป็นผลงาน 

ความสำคัญและประโยชน์ของบรรณานุกรม
 1.เพื่อตรวจสอบข้อมูลและรายละเอียดที่ผู้ค้นคว้าใช้อ้างอิงว่าถูกต้องตรงตามที่อ้าง

2.เพื่อให้ผู้สนใจที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามอ่านได้จากรายชื่อสื่อในบรรณานุกรมนั้น

3.เพื่อให้ผลงานมีคุณค่า เชื่อถือได้ เนื่องจากบรรณานุกรมที่ใช้ค้นคว้าอ้างอิง เป็นผลงานจากผู้ทรงคุณวุฒิ
 

ลักษณะของบรรณานุกรม
 1. บรรณานุกรมที่มีลักษณะเป็นรายการข้อมูล ซึ่งจะบอกรายละเอียดสำคัญๆ สำหรับผู้ที่ต้องการสืบค้นสามารถใช้รายการข้อมูลนั้นสืบจนพนต้นแหล่งได้ เช่น บรรณานุกรมท้ายรายงาน เป็นต้น 

2. บรรณานุกรมที่มีลักษณะเป็นรูปเล่มหรือเป็นแผ่นพับ แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ 

-หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) เช่น รายการหนังสือจากสำนักพิมพ์ของพระยาอนุมานราชธน 

รายชื่อหนังสือ (Book Catalog) 
เช่น รายการหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆรายชื่อหนังสือของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นต้น 

คู่มือแนะวรรณกรรม (Guide to Literature) คือ บรรณานุกรมเฉพาะสาขาวิชา ทำเพื่อจุดประสงค์ให้ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น บรรณานุกรมการเกษตรของประเทศไทย พ.ศ. 2524  = Thai Agricultural Bibliography เป็นต้น 

บรรณานุกรมของห้องสมุด (Library Catalog) เช่น การนำเสนอบรรณานุกรมหนังสือใหม่ การแนะนำบทความจากวารสาร เป็นต้น
 

ประเภทของบรรณานุกรม
 
จำแนกตามวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของผู้จัดทำได้ดังนี้
 1. บรรณานุกรมแห่งชาติ (National Bibliography) คือ รายการทรัพยากรสารสนเทศที่ผลิตในประเทศนั้นๆ ซึ่งปกติมักจะเป็นบรรณานุกรมหนังสือ 

2. บรรณานุกรมทั่วไป (General Bibliography) คือบรรณานุกรมที่ไม่มีจุดมุ่งหมายในการจัดทำสำหรัยคนกลุ่มใดหรือเพื่อการใดโดยเฉพาะ เช่น การเสมอรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่เพิ่งเข้ามาใหม่ของห้องสมุดต่างๆ เป็นต้น 

3. บรรณานุกรมเพื่อการค้า (Trade Bibliography) 
คือ บรรณานุกรมที่มุ่งเสนอรายการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อจุดประสงค์ในการขายมีข้อมูลในการจัดซื้อ เช่น บอกผู้จัดจำหน่าย (สำนักพิมพ์) บอกราคา ตัวอย่างบนบรรณานุกรมเพื่อการค้าจะเห็นได้จากรายการ (Catalog) ของผู้จำหน่ายซึ่งทำเพื่อโฆษณาด้วย 

4. บรรณานุกรมทางวิชาการ (Academic Bibliography) คือ บรรณานุกรมที่จัดทำเพื่อวัตถุประสงค์สนับสนุนงานทางวิชาการ เช่น งานวิจีย งานเขียนตำรา ซึ่งงานเหล่านี้ต้องการข้อมูลถูกต้อง ทันสมัย ตรงเวลา นักบรรณานุกรมจะช่วยจัดเตรียมรายการให้ผู้ค้นคว้าใช้หาข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้มาก 

5. บรรณานุกรมของบรรณานุกรม (Bibliography of Bibliography) 
คือหนังสือที่รวบรวมรายชื่อหนังสือที่เป็นหนังสือบรรณานุกรมทั้งหมด เป็นหนังสือที่ไม่มีเนื้อหา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้บรรณารักษ์จัดหาหนังสือ รวมทั้งวัสดุอื่นๆ และช่วยให้ผู้ต้องการหนังสือพบแหล่งที่มีหนังสือ เช่น สารานุกรมแนะนำหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน
500 เล่มหนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน CBI (Cumulative Book Index) เป็นต้น
 

หลักการเขียนบรรณานุกรม
1. ผู้แต่ง
ผู้แต่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม วุฒิ ให้ลงชื่อตามด้วยนามสกุล ยกเว้นผู้แต่งที่มีราชทินนาม และฐานันดรศักดิ์ เช่น หลวง, ม.ร.ว., พระองค์เจ้า ให้ลงนามด้วยผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุลขึ้นต้น, ชื่อต้น

ตัวอย่าง ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ >> นิธิ เอียวศรีวงศ์.
William R. Robinson >> Robinson, William R.


1.1 ผู้แต่งที่มีฐานะเป็นผู้รวบรวม เรียบเรียง หรือบรรณาธิการหนังสือภาษาไทย ให้ใช้คำว่า ผู้รวบรวม ผู้เรียบเรียง หรือบรรณาธิการไว้ท้ายชื่อ โดยใส่ , คั่น เช่น กุศล สุนทรธาดา, บรรณาธิการ. หนังสือภาษาอังกฤษ ให้ใช้คำว่า comp. หรือ ed คั่น เช่นMcketta, John J., ed.

1.2 หนังสือที่มีผู้แต่ง 2 คน หนังสือภาษาไทย เชื่อมด้วยคำว่า และ เช่น กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ พีระ ชื่นจิต. หนังสือภาษาอังกฤษ เชื่อมด้วยคำว่า and เช่น Casvant, Kenneth L. and Infanger, Craig L.

1.3 หนังสือที่มีผู้แต่ง 3 คน หนังสือภาษาไทย ผู้แต่งคนแรก, ผู้แต่งคนที่ 2 และ ผู้แต่งคนที่ 3.
หนังสือภาษาอังกฤษ แต่งคนแรก, ผู้แต่งคนที่ 2 and ผู้แต่งคนที่ 3.

1.4 หนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 3 คน 
หนังสือภาษาไทย ผู้แต่งคนแรก, และคนอื่น ๆ / และคณะ
หนังสือภาษาอังกฤษ ผู้แต่งคนแรก, and others / et al.


1.5 หนังสือที่มีผู้แต่งเป็นสถาบัน
  ให้ลงชื่อสถาบัน หรือหน่วยงานราชการ เช่น สถาบันธัญญารักษ์, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ฯลฯ

2. ชื่อเรื่อง
ใช้ตามที่ปรากฎในหน้าปกใน ชื่อเรื่องให้ ขีดเส้นใต้ หรือ ใช้อักษร ตัวหนา หรือ ตัวเอน ก็ได้ หนังสือภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นทุกคำ (ยกเว้นคำบุพบท สันธาน) หรือ ใช้เฉพาะอักษรตัวใหญ่ขึ้นต้นคำแรก เช่น Drug Abuse : A Textbook
3. ครั้งที่พิมพ์หนังสือที่พิมพ์มากกว่าหนึ่งครั้ง ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ด้วย เช่น ตำราการบำบักรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 2.

4. สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์

สถานที่พิมพ์ ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์นั้น ตั้งอยู่ กรณีไม่ปรากฎชื่อเมือง ใช้คำว่า [ม.ป.ท.] หรือ [n.p.]

สำนักพิมพ์
หนังสือมีทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ให้ระบุชื่อสำนักพิมพ์เท่านั้นและให้ตัดคำที่เป็นส่วนหนึ่งของสำนักพิมพ์ เช่นห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัท, Incorporation, Limited ออกไป  เช่น บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น >> ซีเอ็ดยูเคชั่น

กรณีที่หน่วยราชการจัดพิมพ์ ให้เรียงหน่วยงานย่อย >> หน่วยงานใหญ่
เช่น สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
กรณีที่ไม่ปรากฎสำนักพิมพ์ ให้ใช้คำว่า [ม.ป.ท.] หรือ [n.p.]

ปีที่พิมพ์
ใส่เฉพาะตัวเลข (พ.ศ. หรือ ค.ศ.)
กรณีที่ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์ ให้ใช้คำว่า [ม.ป.ป.] หรือ [n.d.]

No comments:

Post a Comment